วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ความหมาย ทฤษฎีการเรียนรู้

     คิมเบิลและการ์เมอซี่ (Kimble and Garmezy) กล่าวว่า “การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร โดยเป็นผลจากการฝึกฝนเมื่อได้รับการเสริมแรง มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า ปฎิกิริยาสะท้อน (Reflex) เช่น การกะพริบตาเมื่อผงเข้าตา หรือวุฒิภาวะ เป็นต้น” ฮิลการ์ดและเบาเวอร์ (Hilgard and Bower) กล่าวว่า “การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเป็นผลจากการฝึกฝนและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น สัญชาตญาณ ฯลฯ หรือวุฒิภาวะ หรือจากการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวของร่างกาย เช่น ความเมื่อยล้า พิษของยา เป็นต้น”
     ครอนบัค (Cronbach) สรุปว่า “การเรียนรู้เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละคนได้ประสบมา”
เพรสซี่ โรบินสัน และเฮอร์รอค (Presseey, Robinson and Horrock) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า “การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลได้พยายามปรับพฤติกรรมของตน เพื่อเข้ากับสภาพแวดล้อมตามสถานการณ์ต่าง ๆ จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมาย ตามที่แต่ละบุคคลได้ตั้งเป้าหมายไว้”
แกรี่ และ คิงส์เลย์ (Garry and Kingsley) อธิบายว่าลักษณะของการเรียนรู้ มี 3 ประการ คือ
1) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ เพราะมีวัตถุประสงค์หรือแรงจูงใจ
2) การเรียนรู้เกิดจาก การพยายามตอบสนองหลายรูปแบบ เพื่อบรรลุถึงเป้าหมาย คือการแก้ปัญหา
3) การตอบสนองจะต้องกระทำจนเป็นนิสัย

     เมดนิค (Mednick) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ดังนี้
1) การเรียนรู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
2) การเรียนรู้เป็นผลจากการฝึกฝน
3) การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร จนเกิดเป็นนิสัย
4) การเรียนรู้ไม่อาจสังเกตได้โดยตรง แต่ทราบจากการกระทำที่เป็นผลจากการเรียนรู้

กล่าวโดยสรุป ก็คือ “การเรียนรู้หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติหรือสัญชาติญาณ หรือวุฒิภาวะ หรือพิษยาต่าง ๆ หรืออุบัติเหตุ หรือความบังเอิญ”
web.agri.cmu.ac.th/extens/Course_all/Course/352401/401บทที่2.doc
ทฤษฎี (theory) คือ สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองหลายครั้งหลายหนจนสามารถอธิบายข้อเท็จจริงสามารถ คาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่วๆไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป
วิธีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝนหลายๆครั้ง ซึ่งมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น